Crash-Survivable Memory Unit (CSMU)

ปริศนาเครื่องบินปักหัวกำลังคลี่คลาย หนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญในการสืบสวน มาจากข้อมูลในกล่องดำ วันนี้เราจะมาทบทวนเรื่องกล่องดำกัน และทำไมเมื่อพบกล่องดำ จึงต้องเอาแช่น้ำไว้

หากจะพูดถึง Crash-Survivable Memory Unit (CSMU) เราอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก แต่ถ้าหากบอกว่ามันคือส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกล่องดำ (Black box) แล้วละก็เชื่อว่าทุกคนคงร้องอ๋อขึ้นมาทันที เพราะมันคืออุปกรณ์ที่จะสามารถบันทึกเรื่องราวของการปฏิบัติการบินในแต่ละเที่ยวบินได้อย่างแม่นยำ ละเอียด และเที่ยงตรงมากๆ และเป็นสิ่งเดียวที่จะเป็นตัวแทนในการบอกเล่าเรื่องราว รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเครื่องบินก่อนที่เครื่องบินจะเกิดอุบัติเหตุ ให้กับเราได้ฟัง

Crash-Survivable Memory Unit (CSMU) ทำหน้าที่คล้ายกล้องวงจรปิดในเครื่องบินที่ถึงแม้จะบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่สามารถถอดรหัสออกมาอธิบายเหตุการณ์ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการบิน เสียงสนทนาของนักบิน ความผิดปกติต่างๆของระบบเครื่องบิน ความ Error ของ Human resource ต่างๆ ก่อนที่จะนำไปสู่การกระทำที่ไม่ปลอดภัย จนเกิดเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงในที่สุด กล่องดำจะทำการสื่อสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแทนนักบิน ผู้ที่น่าจะเป็นคนที่อธิบายเหตการณ์ต่างๆได้อย่างละเอียด แต่มักจะไม่มีโอกาสได้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ฟังอีกเลย

เมื่อมีความสำคัญมากขนาดนี้ การติดตั้ง และการนำมาใช้เมื่อถึงเวลาจึงต้องคำนึงถึงความเสียหายของข้อมูลให้มากที่สุดเช่นกัน วิศวกรออกแบบเครื่องบินจึงต้องทำการติดตั้งกล่องดำให้อยู่ในจุดที่น่าจะเกิดความเสียหายน้อยที่สุดหากเกิดอุบัติเหตุของเครื่องบิน คือบริเวณท้ายเครื่องบิน ความพิเศษอีกอย่างนึงก็คือ กล่องดำทุกเครื่องจะต้องมีเครื่องแจ้งตำแหน่งใต้น้ำ (Underwater Locator Beacon-ULB) หรือเรียกว่า “Pinger” ติดตั้งด้วยเสมอ เพื่อช่วยการค้นหาในกรณีอุบัติเหตุเหนือน่านน้ำ เมื่อมันตกอยู่ในน้ำ Pinger จะส่งสัญญาณออกมา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ค้นหาใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Pinger Locator System (PLS) ลากไปในน้ำเพื่อรับสัญญาณจาก Pinger และดำเนินการค้นหาตำแหน่งของกล่องดำต่อไป และเมื่อพบแล้วเจ้าหน้าที่ยังคงจะต้องรักษาสภาพแวดล้อมเดิมเอาไว้ให้มากที่สุดโดยการใส่เอาไว้ในน้ำเพื่อ ชะลอความเสียหายที่อาจเกิดจากการกัดกร่อนแผงวงจรของออกซิเจนในอากาศ ที่สูงกว่าในน้ำ เมื่อเก็บกู้ได้แล้วจึงต้องแช่น้ำเอาไว้ในกล่องพลาสติกผนึกด้วยกาวซิลิโคน (Silicone adhesive) ส่งไปทำให้แห้งในห้อง LAB ห้ามทำให้แห้งทันที เป็นการป้องกันความความเสียหายของข้อมูลที่อยู่ข้างใน

ข้อมูลจากกล่องดำ นับว่าเป็นคุโณปการอย่างมากกับนักบินรุ่นหลังๆ นักบินทุกคนเป็นหนี้บุญคุณชีวิตเจ้ากล่องดำนี้มาก เนื่องจากทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดอุบัติเหตุจะเป็น ครู และ บทเรียน ให้กับนักบินเสมอ และนอกเหนือจากการที่นักบินจะได้เรียนรู้และระมัดระวัง เหตุการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้ว เกือบทุกๆการวิเคราะห์อากาศยานอุบัติเหตุจากกล่องดำตัวนี้ ยังจะมีมาตรการ และกฎเกณฑ์ ต่างๆตามมาอีกมากมาย เพื่อเหตุผลเดียวก็คือป้องกันไม่ให้การเกิดอุบัติเหตุจากอากาศยานเหล่านั้นซึ่งทุกครั้งจะเกิดมูลค่าความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง

#BACflyingSchool #ChinaEastern #aircrash #PILOT #cpl #aviation

ช่วงนี้พายุเข้าในหลายพื้นที่ มีหลายวันที่อากาศปิด ทัศนวิสัยไม่ดีเลย หากเรานั่งเครื่องบินจากกรุงเทพไปเชียงใหม่นักบินเค้าจะรู้ได้ยังไง...
Pitot tube (อ่านว่า: พิโต ทูป) คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วลม ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส Henri Pitot (อองรี พิโต)ในต้นศตวรรษที่ 18 และได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อให้รูปแบบทันสมัยขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 โดย Henry Darcy วิศวกรชาวฝรั่งเศส...
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เผยที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบในมาตราการเยียวยาผลกระทบสายการบินจากโควิด-19 เตรียมเสนอ ครม. ในวันที่ 17 มี.ค.2563...
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save