นักบินพาณิชย์ ขาดแคลนจริงหรือ?
By กัปตันพัดลม จากการสำรวจข้อมูลจากสายการบินต่างๆ พบว่าในปี พ.ศ. 2559-2560 ประเทศไทยจะขาดแคลนนักบินพาณิชย์ราว 300 คน ซึ่งปัญหาหลักที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเกิดจากปัจจัยหลายด้านคือ
- สายการบินมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบในตำแหน่งของนักบินคือ ครูการบิน กัปตัน นักบินผู้ช่วย เนื่องจากปัจจุบัน ICAO ลดระดับสิทธิบางประการเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบในการออก TYPE RATING ของอากาศยานแต่ละแบบ ทาง กพท. จึงแก้ปัญหาโดยส่งบุคลากรไปอบรมยังบริษัทฯ ผู้ผลิตอากาศยานโดยตรง เพื่อ CERTIFLIED ON TYPE (เรียกว่า FOI) และอนุญาตให้แต่ละสายการบินมี DCP เพื่อตรวจสอบนักบินของตนเองในการให้เป็นครูการบิน กัปตัน และผู้ช่วยนักบิน ซึ่ง DCP จะต้องผ่านการอบรมจากจาก FOI และได้รับใบอนุญาตก่อน
- การขยายแผนการดำเนินธุรกิจ ขยายเส้นทางบินของแต่ละสายการบิน ทำให้มีความต้องการนักบินที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี พร้อมศักย์การบิน IR , MR , ENGLISH LEVEL 4 ,MED CLASS1 ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ยปีละ 300 คน ซึ่งอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตนักบินป้อนเข้าสู่ตลาดมาจากข้อกำหนดการคัดกรองที่เกี่ยวพันกับการออก MED CLASS1 เนื่องจากปัจจุบันมีเพียงสถาบันเวชศาสตร์การบิน ทอ. และโรงพยาบาลกรุงเทพเท่านั้นที่ได้รับการรับรองจาก กพท. ซึ่งจำนวนแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อบุคคลากรที่ขอเข้ารับการตรวจ ส่งผลให้ต้องรอคิวตรวจนานหลายเดือน ดังนั้น กระบวนการเข้าถึงระบบการศึกษาด้านการบินจึงไม่สอดคล้องกับแผนงานของสายการบินที่มีความต้องการในแต่ละช่วงเวลาที่จะดำเนินธุรกิจ
- โรงเรียนการบินบางแห่งมีจำนวนครูการบินน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียน อีกทั้งกฎหมายกำหนดข้อจำกัด ชม.ของครูการบินในการฝึกบินแต่ละคาบเวลา เช่น ต้องไม่เกิน 900 ชั่วโมงบินต่อปี เป็นต้น
- ข้อกฎหมายของ กพท. มีความซ้ำซ้อน ยุ่งยาก เช่น เมื่อศิษย์การบินตรวจ MED CLASS1 ผ่านแล้ว เมื่อจบการศึกษา โรงเรียนการบินควรประสานกับ กพท. ในการออกใบอนุญาตแพทย์ MED CLASS1 ได้ทันที เพราะศิษย์การบินผ่านการทดสอบแล้ว แต่ปัจจุบัน กพท. กลับให้ไปตรวจซ้ำเมื่อจบการศึกษา ถึงแม้ว่ากระบวนการอาจจะน้อยลง แต่ก็เสียเวลาของแพทย์ที่ต้องตรวจใหม่อีกครั้ง